บทที่ 1




1. ความหมายของสื่อประสม

สื่อประสม การใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับปรัชญา การเรียนรู้มากขึ้น สื่อประเภทนี้ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของบทเรียนแบบโปรแกรม ที่ให้เพียงเนื้อหา คำถาม และคำตอบ แต่ได้รับการออกแบบให้เปิดกว้างสำหรับ การสำรวจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้น สืบค้นมากขึ้น
สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบที่มีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการนำเสนอข้อมูล เป็นหลัก โดยได้มีการออกแบบนำเสนอไว้อย่างเป็นระบบ มัลติมีเดียนั้นได้รวมเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ด้วยกัน จะเน้นส่วนไหน มากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และจะเน้นผลผลิตที่เกิดจากการ นำเสนอข้อมูลหลากลายรูปแบบ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความ
เทคโนโลยีสื่อประสม เทคโนโลยีได้เข้ามามีบาทเป็นอย่างสูงสำหรับในยุคนี้ ซึ่งสามารถพิจารณา จากการพัฒนาคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสมรรถนะของซีพียู รวมทั้งประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในปัจจุบันนี้ ต่างก็พัฒนาขึ้น มาเพื่อรองรับความต้องการของเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
  1. ความสามารถของโปรเซสเซอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการคำนวณด้านที่มีความซับซ้อนมากขึน
  2. ในเครื่องที่มีความเร็วสูงขึ้น และเพิ่มขยายได้มากขึ้น
  3. ที่ช่วยให้แสดงภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูง
  4. ขนาดใหญ่
  5. ที่สมบูรณ์แบบเทียบได้กับราคาแพง ๆ
  6. ที่มีความจุมากขึ้น เช่น เป็นต้น


2. ประเภทของสื่อประสม

สื่อประสมแบ่งออกตามลักษณะการประสมสื่อและคุณลักษณะการใช้มี 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 ประสมสื่อที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์และกระบวนการเข้าร่วมกัน นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอนปกติทั่วๆ ไป เช่น ชุดอุปกรณ์ ชุดการเรียนการสอน บทเรียนแบบโปรแกรม โปรแกรมสไลด์ ศูนย์การเรียน สื่อประสมแต่ละชนิดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ มีหลักการและลักษณะเด่นแตกต่างกันออกไปคือ
    2.1.1 สามารถให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ด้วยตนเอง 
    2.1.2 สามารถให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความรู้ ความสามารถและความแตกต่าง
    2.1.3 สามารถให้ผู้เรียน ใช้เรียนด้วยตนเองหรือใช้เมื่อขาดครูผู้สอนได้ 
    2.1.4 สามารถให้ผู้เรียนรับผลตอบกลับทันที และได้รับความรู้สึกภาคภูมิใจ
    2.1.5 สามารถใช้ประกอบการศึกษาทางไกล 
    2.1.6 สามารถใช้ส่งเสริมสมรรถภาพของครู 
    2.1.7 สามารถให้ผู้เรียนได้ฝึกความรับผิดชอบและทำงานเป็นกลุ่ม


3. องค์ประกอบของสื่อประสม

องค์ประกอบของสื่อประสม
จากความหมายของสื่อประสมที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า สื่อประสมในปัจจุบันจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการเสนอสารสนเทศในรูปแบบรวมของข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพกราฟิกเคลื่อนไหว และภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ เพื่อรวมเป็นองค์ประกอบของสื่อประสมในลักษณะของ "สื่อหลายมิติ" โดยก่อนที่จะมีการประมวลเป็นสารสนเทศนั้น ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับรูปแบบโดยแบ่งเป็นลักษณะดังนี้

ภาพนิ่ง

ก่อนที่ภาพถ่าย ภาพวาด หรือภาพต่าง ๆ ที่เป็นภาพนิ่งจะเสนอบนจอคอมพิวเตอร์ให้แลดูสวยงามได้นั้น ภาพเหล่านี้จะต้องถูกเปลี่ยนรูปแบบก่อนเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้และเสนอภาพเหล่านั้นได้ โดยมีรูปแบบที่นิยมใช้กันมาก 2 รูปแบบ คือ
- กราฟิกแผนที่บิต (bitmapped graphics) หรือกราฟิกแรสเตอร์ (Raster graphics) เป็นกราฟิกที่แสดงด้วยจุดภาพในแนวตั้วและแนวนอนเพื่อประกอบรวมเป็นภาพ ภาพที่อยู่ในรูปแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย .gif, tiff, และ .bmp
- กราฟิกเส้นสมมติ (vector graphics) หรือกราฟิกเชิงวัตถุ (object - oriented graphics) เป็นกราฟิกที่ใช้สูตรคณิตศาสตร์ในการสร้างภาพโดยที่จุดภาพจะถูกระบุด้วยความสัมพันธ์เชิงพื้นที่แทนที่จะอยู่ในแนวตั้งและแนวนอน ภาพกราฟิกประเภทนี้จะสร้างและแก้ไขได้ง่ายและมองดูสวยงามมากกว่ากราฟิกแผนที่บิต ภาพในรูปแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย


4. เครื่องมือที่ใช้สร้างและประโยชน์ของสื่อประสม


แนวทางการนำ สื่อประสมมาประยุกต์ใช้งานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น สื่อประสมที่ผลิตเป็นบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับกลุ่มผู้ใช้ในแวดวงการศึกษาและฝึกอบรม สื่อประสมที่ผลิตขึ้นเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการสำหรับการโฆษณาในแวดวงธุรกิจ เป็นต้น นอกจากจะช่วยสนับสนุน
ประสิทธิภาพในการดำเนินงานแล้วยังเป็นการเพิ่มประสิทธิผลให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนอีกด้วย โดยสามารถแยกแยะประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำสื่อประสมมาประยุกต์ใช้ ได้ดังนี้(ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ, 2546, 8)

ง่ายต่อการใช้งาน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำสื่อประสมมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผลผลิต ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำให้มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสม และง่ายต่อการใช้งานตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น การใช้งานสื่อประสมในบทเรียนวิธีวิจัยทางธุรกิจ 

สัมผัสได้ถึงความรู้สึก สิ่งสำคัญของการนำสื่อประสมมาประยุกต์ใช้งานคือเพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกจากการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนจอภาพ อันได้แก่ รูปภาพ สัญรูป (icon) ปุ่ม และตัวอักษร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ 

สร้างเสริมประสบการณ์  การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านสื่อประสม แม้ว่าจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละวิธีการ

 5. ปัญหาด้านจริยธรรมกับสทอประสม

 1.  ค่าใช้จ่าย สื่อประสมเพื่อการศึกษา เป็นสื่อที่มีราคาแพง แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีราคาถูกลง แต่ผู้เรียนก็ต้องลงทุนจ่ายเงินจำนวนมาก เพื่อซื้อสื่อหรือโปรแกรม ในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต หรือระบบเครือข่ายอื่นๆ ก็ต้องมีการลงทุนด้านสถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการติดต่อในระบบเครือข่าย และต้องลงทุนจ่ายค่าสื่อสารเชื่อมต่อถึงกัน ในราคาแพงเช่นกัน

2. พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ สืบเนื่องมาจากการพัฒนา และใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษา ที่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่สูง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้ เป็นภาระแก่สังคมโดยรวมของประเทศไทย ซึ่งจะกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ในด้านอื่น ในแง่ของประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนในภาคเมือง ซึ่งมีการพัฒนาศักยภาพทุกด้าน ที่จะสามารถรองรับเทคโนโลยีนี้ ได้ดีกว่าคนในภาคชนบท

3. การเรียนรู้ สื่อประสมเพื่อการศึกษานี้ เป็นสื่อประเภทอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการหาความรู้ผ่านประสบการณ์เทียม ไม่ใช่จากการลงมือทำเอง สัมผัส และแก้ปัญหาต่างๆ ตามสภาพความความเป็นจริง การเรียนรู้ทุกอย่าง ย่อมทำได้ตามเงื่อนไข ที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์กำหนดไว้เท่านั้น แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่สามารถที่จะจำลองโลกที่แท้จริงลงไปไว้ได้ การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ จึงอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ และความเข้าใจเพียงด้านเดียว 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น